เมนู

โครงการสะพานไทย ที่เชื่อมจากท่าเรือแหลมฉบัง มายังฝั่งตะวันตก

08 ก.ค. 2024
ไทยจะมีสะพานสวยแบบนี้เมื่อ โครงการสะพานไทย สำเร็จ
สะพาน Sultan Abdul Halim Muadzam Shah เชื่อมต่อเกาะปีนัง กับแผ่นดินใหญ่ของประเทศมาเลเซีย ความยาวรวมของสะพานคือ 24 กม. ซึ่งยาวที่สุดในประเทศและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หาก โครงการสะพานไทย ที่เชื่อมจากท่าเรือแหลมฉบัง มายังฝั่งตะวันตกในพื้นที่ของจ.เพชรบุรี หรือ จ.ประจวบคีรีขันธ์ สำเร็จจะเป็นสะพานที่มีความยาวประมาณ 80 – 100 กิโลเมตร ทำให้เส้นทางที่ปกติต้องอ้อมไกลถึงเกือบ 400 กิโลเมตรลดลงเหลือ 1 ใน 3
หากโครงการนี้สำเร็จความเจริญจากภาคตะวันออกจะมาเชื่อมกับภาคตะวันตก และลงไปยังพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันตกได้เลยซึ่งเป็นวิธีที่หลายประเทศเช่นญี่ปุ่นทำและประสบความสำเร็จมาแล้ว
โครงการลักษณะแบบนี้ใช้การลงทุนประมาณ 9 แสนล้านบาท ซึ่งโดยหลักการในการสร้างถนนแบบนี้จะสร้างเป็นทั้งอุโมงค์และสะพานเพราะบางช่วงของทะเลมีเรือแล่นผ่านก็ไม่รู้ต้องสร้างสะพานสูงแค่ไหน ก็สร้างเป็นอุโมงค์ก่อนสัก 20 – 3 0 กิโลเมตร
โดยข้อดีของการสร้างเป็นอุโมงค์ก็คือ จะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่กระทบปะการัง ป่าชายเลนในทะเลเหมือนเราสร้างลอดแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วมีเกาะเทียมอยู่กลางทะเลสำหรับเป็นจุดพักรถ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและแหล่งชมวิวจากนั้นก็เป็นสะพานเชื่อมไปถึงอีกฝั่ง ซึ่งจะได้ทั้งถนนและสถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งข้อเสนอของตนคือให้มีการศึกษาโครงการนี้ว่ามีความเป็นไปได้ และคุ้มค่าในการในการลงทุนหรือไม่ โดยรูปแบบการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่แบบนี้ส่วนใหญ่ก็จะเป็นการลงทุนแบบให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการของรัฐ (พีพีพี)
.
“ในโลกนี้มีการสร้างถนนที่เป็นสะพานเชื่อมสองฝั่งของทะเลอยู่แล้วหลายเส้น เช่นในญี่ปุ่นมีที่อ่าวโตเกียว เรียกว่า aqualine วิ่งจากชิบะมายังโยโกฮาม่า ส่วนที่จีนเพิ่งทำสำเร็จคือจากฮ่องกงมาที่มาเก๊า จูไห่ เชื่อมปากแม่น้ำเพิล กับ 11 มณฑลของจีนกับฮ่องกงทำให้ความเจริญจากอีกพื้นที่ไปอีกพื้นที่”
.
ขั้นตอนดำเนินงานโครงการ การพัฒนาโครงการสะพานไทย เชื่อม 2 ฝั่ง อ่าวไทย ระนอง-ชุมพร-แหลมฉบัง และ เพชรบุรี-แหลมฉบัง
มูลค่าการลงทุน 990,000 ล้านบาท
2564-2566 ศึกษา EIA และBusiness Model
2567-2568 ประกวดราคา
2569-2575 ก่อสร้าง 7 ปี
.
9977405
error: Content is protected !!